วันอาทิตย์ที่ 12 กันยายน พ.ศ. 2553

การปกครองสมัยกรุงศรีอยุยา

เรื่อง การปกครองสมัยกรุงศรีอยุธยา
การปกครองของกรุงศรีอยุธยาตลอดระยะเวลาแห่งการเป็นราชธานีอันยาวนาน มีการปรับเปลี่ยนรูปแบบการปกครองแตกต่างกันแต่ละยุคแต่ละสมัย ซึ่งสามารถแบ่งรูปแบบการปกครองได้เป็น 3 ช่วง คือ สมัยอยุธยาตอนต้น สมัยอยุธยาตอนกลาง และสมัยอยุธยาตอนปลาย

สมัยอยุธยาตอนต้น
ในสม้ยนี้เป็นสมัยของการวางรากฐานอำนาจทางการเมืองการปกครอง รวมทั้งเสริมสร้างความมั่นคงของอาณาจักร ซึ่งยังมีอาณาเขตไม่กว้างขวางมากนัก พระเจ้าอู่ทองทรงวางรากานการปกครองไว้ ดังนี้
1.1 การปกครองส่วนกลาง พระมหากษัตริย์แบ่งการปกครองเป็น 4 ส่วน เรียกว่า จตุสดมภ์ ให้แต่ละส่วนมีอำนาจหน้าที่ ดังนี้
1) กรมเวียง (กรมเมือง) มีหน้าที่ดูแลความสงบเรียบร้อยของราษฎรทั่วราชอาณาจักร เช่น ปราบปรามโจรผู้ร้าย นำตัวผู้ทำผิดมาลงโทษ มีเสนาบดี ตำแหน่ง ขุนเวียง หรือ ขุนเมือง เป็นหัวหน้า
2) กรมวัง มีหน้าที่จัดระเบียบเกี่ยวกับราชสำนัก จัดงานพระราชพิธีต่าง ๆ พิพากษาคดีความของราษฎร มีเสนาบดีตำแหน่ง ขุนวัง เป็นผู้รับผิดชอบ
3) กรมคลัง มีหน้าที่จัดเก็บภาษีอากร จัดหารายได้เพื่อใช้ในการบำรุงราชอาณาจักร รับผิดชอบด้านการเงินและการต่างประเทศ การแต่งสำเภาหลวงออกค้าขาย มีเสนาบดีตำแหน่ง ขุนคลัง เป็นผู้รับผิดชอบ
4) กรมนา มีหน้าที่ดูแลเกี่ยวกับการทำมาหากินของราษฎร เช่น การทำนา ทำไร่ ทำสวน และจัดเตรียมเสบียงอาหารไว้ใช้ในยามศึกสงคราม มีเสนาบดีตำแหน่ง ขุนนา เป็นผู้รับผิดชอบ

1.2 การปกครองส่วนภูมิภาค เป็นการปกครองหัวเมืองที่อยู่นอกเขตราชธานี ซึ่งมีการแบ่งเมืองเป็นระดับชั้น โดยมีกรุงศรีอยุธยาเป็นศูนย์กลาง
1) เมืองหน้าด่าน (เมืองลูกหลวง) เป็นหัวเมืองที่อยู่รายรอบราชธานีและมีระยะทางไปมาถึงราชธานีได้ภายใน 2 วัน มีความสำคัญในการป้องกันข้าศึกไม่ให้โจมตีถึงราชธานีได้ง่าย พระมหากษัตริย์จะทรงแต่งตั้งให้พระราชโอรสหรือเจ้านายชั้นสูงไปปกครองแทนพระองค์ เพื่อเป็นการแบ่งเบาพระราชภาระด้านการปกครองในสมัยอยุธยาตอนต้นมีเมืองหน้าด่าน ดังนี้
2) หัวเมืองชั้นใน เป็นหัวเมืองที่ถัดจากเมืองหน้าด่านออกไปอีก เป็นเมืองรายรอบตามระยะทางคมนาคม อยู่ไม่ไกลจากราชธานี สามารถติดต่อถึงกันได้สะดวก หัวเมืองชั้นในมีความสำคัญคือ ในยามศึกสงครามจะนำกำลังทหารมาสมทบพระมหากษัตริย์จะทรงแต่งาตั้งเจ้าเมือง กรมการเมือง และคณะกรมการเมืองไปปกครองโดยขึ้นตรงต่อราชธานี หัวเมืองชั้นในที่สำคัญ มีดังนี้
ทิศเหนือ เมืองาพรหมบุรี อินทร์บุรี สิงห์บุรี
ทิศใต้ เมืองเพชรบุรี
ทิศตะวันออก เมืองปราจีนบุรี
ทิศตะวันตก เมืองราชบุรี
3) หัวเมืองชั้นนอก (เมืองพระยามหานคร) เป็นหัวเมืองที่มีขนาดใหญ่อยู่ห่างจากราชธานีออกไปตามทิศทางต่าง ๆ หัวเมืองชั้นนอกจะเป็นเมืองที่คอยปกป้องดูแลอาณาเขตด้านที่ตั้งอยู่ มีเจ้าเมืองเป็นผู้ปกครองสืบทอดต่อ ๆ กันมา แต่ในบางครั้งเพื่อความมั่นคงของราชธานี พระมหากษัตริย์ก็ทรงแต่งตั้งขุนนางจากกรุงศรีอยุธยาไปปกครอง หัวเมืองชั้นนอกที่สำคัญ มีดังนี้
ทิศเหนือ เมืองพิษณุโลก
ทิศใต้ เมืองไชยา เมืองนครศรีธรรมราช เมืองพัทลุง
ทิศตะวันออก เมืองนครราชสีมา เมืองจันทบุรี
ทิศตะวันตก เมืองตะนาวศรี เมืองทวาย
4) หัวเมืองประเทศราช เป็นเมืองที่อยู่ห่างไกลนอกพระราชอาณาเขต มีการปกครองอิสระแก่ตนเอง ชาวเมืองเป็นชาวต่างประเทศ เมืองเหล่านี้มีรูปแบบการปกครองตามวัฒนธรรมเดิมของตน เจ้านายพื้นเมืองมีสิทธิ์ขาดในการปกครองดินแดนของตน แต่ต้องแสดงตนว่ายอมอ่อนน้อมหรือเป็นเมืองประเทศราช โดยการส่งเครื่องราชบรรณาการมาถวายตามกำหนด เป็นการแสดงความจงรักภักดีเมื่อเกิดศึกสงครามก็ส่งกำลังและเสบียงอาหารมาสมทบกับฝ่ายไทย
สมัยปกครองตอนกลาง
ช่วงเวลาตั้งแต่สมัยสมเด็จพระบรมไตรโลกนาถถึงสมัยสมเด็จพระนารายณ์มหาราช (พ.ศ. 1991 - 2231) สมัยนี้เป็นสมัยที่อาณาจักรอยุธยามีความมั่นคงเป็นปึกแผ่น และเริ่มเป็นอาณาจักรที่ยิ่งใหญ่ มีอำนาจทางการเมืองการปกครองเจริญรุ่งเรืองสูงสุด รวมทั้งมีสภาพทางเศรษฐกิจที่เจริญรุ่งเรือง มีการติดต่อค้าขายกับต่างชาติ
ในรัชสมัยของสมเด็จพระบรมไตรโลกนาถได้มีการจัดระเบียบการปกครองโดยรวมอำนาจไว้ที่ศูนย์กลาง เพื่อให้เหมาะสมกับสภาพของอาณาจักรอยุธยาในขณะนั้นที่ขยายดินแดนกว้างออกไป
สาเหตุที่ทำให้สมเด็จพระบรมไตรโลกนาถปฏิรูปการปกครองอาณาจักรอยุธยา มีดังนี้
1. สืบเนื่องจากการที่อยุธยาได้ขยายดินแดนออกไปกว้างขวาง และได้รวมเอาดินแดนของอาณาจักรสุโขทัยเข้ามาเป็นส่วนหนึ่งของอาณาจักร จึงจำเป็นต้องขยายอำนาจการปกครองออกไปให้ควบคุมดินแดนท้งหมดไว้ได้
2. เกิดปัญหาเรื่องความมั่นคงของอาณาจักร จากการที่เมืองหน้าด่านมีกองกำลังป้องกันเมืองจึงมีอำนาจมาก ทำให้เกิดการชิงราชสมบัติอยู่บ่อยครั้ง
3. ทรงต้องการปรับปรุงระเบียบการปกครองที่มีมาแต่เดิม เพื่อให้เหมาะสมกับสถานการณ์ในขณะนั้น

1.1 การปกครองส่วนกลาง
สมเด็จพระบรมไตรโลกนาถ ทรงจัดแบ่งขุนนางและไพร่พลทั่วราชอาณาจักรใหม่ โดยแบ่งออกเป็น 2 ฝ่าย คือ ฝ่ายพลเรือน และฝ่ายทหาร
ในยามที่บ้านเมืองสงบสุข หน้าที่ของฝ่ายพลเรือนและฝ่ายทหารจะแยกจากกัน เพื่อรับผิดชอบบริหารบ้านเมืองตามที่ได้รับมอบหมายให้มีประสิทธิภาพ แต่เมื่อยามเกิดสงคราม ทั้ง 2 ฝ่ายจะต้องรวมกำลังกัน เพื่อต่อสู้ข้าศึกศัตรูและป้องกันประเทศให้มั่นคงปลอดภัย
ฝ่ายทหาร มีสมุหพระกลาโหมเป็นหัวหน้าบังคับบัญชาดูแลราชการฝ่ายทหารทั่วราชอาณาจักร เพื่อเตรียมไพร่พลและกำลังอาวุธไว้ให้พร้อมเพรียง สามารถสู้รบในยามเกิดสงครามได้
ฝ่ายพลเรือน มีสมุหนายกเป็นหัวหน้าบังคับบัญชาดูแลรับผิดชอบงานฝ่ายพลเรือนทั่วราชอาณาจักร และคอยกำกับดูแลการทำงานของเหล่าเสนาบดีจตุสดมภ์เดิม ซึ่งสมเด็จพระบรมไตรโลกนาถทรงเปลี่ยนชื่อ และปรับปรุงหน้าที่ของหน่วยงานทั้ง 4 ใหม่ โดยให้มีหน้าที่รับผิดชอบบริหารราชการแผ่นดินแตกต่างกันไปตามที่ทรงมอบหมาย ดังนี้
กรมเวียง (นครบาล) มีหน้าที่ดูแลความสงบเรียบร้อยของบ้านเมือง และรักษาความสงบสุขของราษฎรในเขตราชธานี
กรมวัง (ธรรมาธิกรณ์) มีหน้าที่ดูแลรับผิดชอบเกี่ยวกับราชสำนัก งานราชพิธี และพิพากษาคดีความของราษฎร
กรมคลัง (โกษาธิบดี) มีหน้าที่ดูแลรายรับรายจ่ายและเก็บรักษาพระราชทรัพย์ จัดเก็บอากรค่าธรรมเนียมต่าง ๆ ติดต่อค้าขายกับต่างประเทศ
กรมนา (เกษตราธิการ) มีหน้าที่ดูแลส่งเสริมให้ราษฎรทำไร่ ทำนา เก็บข้าวขึ้นฉางหลวง เพื่อใช้เป็นเสบียงในยามศึกสงครามหรือยามเกิดข้าวยากหมากแพง

1.2 การปกครองส่วนภูมิภาค
สมเด็จพระบรมไตรโลกนาถทรงวางหลักเกณฑ์ต่าง ๆ ในการปกครองส่วนภูมิภาคให้มีลักษณะแบบเดียวกันกับส่วนกลาง และได้ยกเลิกเมืองลูกหลวงหรือเมืองหน้าด่านทั้ง 4 ทิศ โดยแบ่งเขตของการปกครองเป็น 3 เขต ดังนี้
1) หัวเมืองชั้นใน ได้แก่ เมืองที่อยู่ใกล้ราชธานี เช่น ราชบุรี เพชรบุรี ชัยนาถ นครสวรรค์ สุพรรณบุรี ชลบุรี เป็นต้น เมืองเหล่านี้มีฐานะเป็นเมืองจัตวา พระมหากษัตริย์ทรงแต่งตั้งขุนนางไปปกครอง ผู้ปกครองเมืองเรียกว่า ผู้รั้ง
2) หัวเมืองชั้นนอก ได้แก่ เมืองที่อยู่ห่างไกลจากราชธานีออกไป แบ่งเป็นเมืองชั้นเอก โท ตรี ตามขนาดและความสำคัญของแต่ละเมือง ดังต่อไปนี้
- เมืองชั้นเอก เป็นเมืองใหญ่ มีประชาชนมาก เช่น พิษณุโลก นครศรีธรรมราช
- เมืองชั้นโท เป็นเมืองที่สำคัญรองลงมา เช่น สุโขทัย กำแพงเพชร สวรรคโลก
- เมืองชั้นตรี เป็นเมืองที่ขนาดเล็ก เช่น ไชยา ชุมพร นครสวรรค์
3) หัวเมืองประเทศราช ได้แก่ เมืองขึ้นของกรุงศรีอยุธยา เช่น ปัตตานี มะละกา เชียงกราน ทวาย ผู้ปกครองต้องส่งเครื่องราชบรรณาการ ต้นไม้เงิน ต้นไม้ทอง มาถวายกษัตริย์ที่กรุงศรีอยุธยา โดยมีข้อกำหนด 3 ปีต่อหนึ่งครั้ง และต้องส่งกองทัพมาช่วยสู้รบกับข้าศึกศัตรูเมื่อเมืองหลวงเกิดมีศึกสงครามขึ้น วิธีการปกครองยังคงใช้วิธีเดียวกับสมัยอยุธยาตอนต้น
1.3 การปกครองส่วนท้องถิ่น
สมเด็จพระบรมไตรโลกนาถทรงแบ่งการปกครองส่วนท้องถิ่นเป็นหน่วยงานต่าง ๆ เพื่อให้การปกครองดูแลได้ทั่วถึงมากขึ้น โดยเริ่มจากหมู่บ้านมีผู้ใหญ่บ้านปกครองดูแล ตำบลมีกำนันดูแล แขวงมีหมื่นแขวงดูแล และเมืองมีเจ้าเมืองดูแล การปกครองท้องถิ่นดังกล่าวได้ใช้สืบทอดมาจนถึงสมัยรัตนโกสินทร์
สมัยการปกครองตอนปลาย
ช่วงเวลาตั้งเเต่สมัยสมเด๊จพระเพทราชาถึงสมัยสมเด๊จพระที่นั่งสุริยาศน้อมรินทร์ รูปเเบบการปกครองยังปกครองตามสมเด็จพระบรมไตรโลกนาถทรงจัดระเบียบไว้ เเต่มีการเปลี่ยนเเปลงรูปเเบบการปกครองบางส่วนในสมัยสมเด็จพระเพทราชา ดังนี้
1ยกเลิกการเเยกรับผิดชอบของอัครมหาเสนาบดีด้านงานพลเรือน เเละด้านงานทหาร
2ให้สมุกลาโหมรับผิดชอบทั้งด้านพลเรือนเเละทหาร ปกครองหัวเมืองฝ่ายใต้
3ให้สมุหนายกรับผิดชอบทั้งด้านทหารเเละพลเรือน ปกครองฝ่ายเหนือเเละดูเเลจตุสดมภ์ในส่วนกลาง
4ให้เสนาบดีกรมคลังรับผิดชอบด้สนทหารเเละพลเรือน ปกครองหัวเมืองชาบฝั่งตะวันออกเเละดูเเลรายได้ของเเผ่นดิน

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น