วันจันทร์ที่ 31 พฤษภาคม พ.ศ. 2553

การปกครองสมัยอยุธยา


รูปแบบการปกครองสมัยอยุธยานั้นแบ่งได้ ๓ ระยะตามลักษณะการปกครอง คือ


๑การปกครองสมัยสมัยอยุธยาตอนต้น



การปกครองระยะนี้เริ่มเมื่อ (พ.ศ ๑๘๙๓ - ๑๙๙๑ ) สมัยพระเจ้าอู่ทองถึงสมเด็จพระบรมราชาธิราชที่ ๒เเบ่งการปกครองดั้ย ๒ ส่วน


(ส่วนที่ 1) การปกครองส่วนการ การปกครองในเขตราชธานี เเละบริเวณรอบราชธานีโดยได้จัดรูปเเบบเขมร จัดหน่วยการปกครองเป็น 4 หน่วยเเต่ละหน่วยมีเสนาบดีบริหารงาน ได้เเก่ กรมเวียง(ดูเเลในเขตเมืองหลวง) กรมวัง (ดูเเลพระราชสำนักเเละพิจารณาคดี) กรมคลัง (ดูเเลพระราชทรัพย์) กรมนา (จัดเก็บภาษีเเละดูเเลเสบียงสำหรับกองทัพ)

(ส่วนที่ ๒) การปกครองส่วนหัวเมือง เเบ่งเป็น ๔ ระดับ


๑.เมืองลูกหลวง

หรือเมืองหน้าด่าน ตั้งอยู่รอบราชธานี ๔ ทิศ เช่น ลพบุรี นครนายก พระประเเดง สุพรรณบุรี ให้โอรสหรือพระราชวงศ์ชั้นสูงไปปกครอง

๒.หัวเมืองชั้นใน

อยู่ถัดจากเมืองลูกหลวงออกไป ได้เเก่ พรหมบุรี สิงห์บุรี ปราจีนบุรี ฉะเชิงเทรา ชลบุรี ตะนาวศรี ไชยา นครศรีธรรมราช ให้ขุนนางที่กษตริย์เเต่งตั้งไปปกครอง

๓.หัวเมืองชั้นนอกหรือหัวเมืองพระยามหานคร

คือหัวเมืองขนาดใหญ่ห่างจากราชธานีผู้ปกครองสืบเชื้อสายมาจากเจ้าเมืองเดิมหรือตัวเเทนที่ราชธานีส่งมาปกครอง

๔.เมืองประเทศราช

เป็นเมืองที่ยังได้ปกครองตนเองเพราะอยู่ไกลที่สุด มีความเป็นอิสระเหมือนเดิมเเต่ต้องส่งเครื่องราชบรรณาการตามกำหนดส่งกองทัพมาช่วยเวลาสงคราม เช่น สุโขทัย เขมรเป็นต้น


การปกครองสมัยอยุธยาตอนกลาง ( ๑๙๙๑ - ๒๒๓๑ )


ช่วงเวลาการเมืองสมัยอยุธยาตอนได้มีการปฏิรูปเปลี่ยนเเปลงการปกครองให้เหมาะสมกับสถาพการณ์ ทางการเมือง โดยมีสถาบันกษัตริย์เป็นหลักในการปกครองเเบ่งได้ ๒ ช่วง


(ช่วงที่ ๑) เป็นช่วงสมัยพระบรมไตรโลกนาถ ทรงปรับปรุงการปกครองใหม่เนื่องจากปัจจัยหลายๆอย่าง เช่น เศรษฐกิจ ควบคุมหัวเมืองได้ไม่ทั่วถึง เเละเมืองลูกหลวงหรือเมืองหน้าด่านมีอำนาจมากขึ้นเเละมักเเย่งชิงบัลลังก์อยู่เนืองๆประกอบกับอาณาเขตที่กว้างขวางกว่าเดิมพระองค์ได้จัดการเเยก ทหารเเละพลเรือนออกจากกันเเละจัดการรวมอำนาจเข้าสู่ศูนย์กลาง ทำให้ราชธานีมีอำนาจมากขึ้น มีการควบคุมเข้มงวดมากขึ้น มีการปฏิรูปการปกครองเเยกเป็น ๒ ส่วน คือส่วนกลางเเละหัวเมือง


สมเด็จพระบรมไตรโลกนาถเเยกการปกครองส่วนกลางเป็น ฝ่าย คือ ทหารเเละพลเรือน ทหารมีสมุหกลาโหมดูเเล ส่วนพลเรือนมีสมุหนายกดูเเล สมุหนายกมีอัครมหาเสนาบดีตำเเหน่ง สมุหนายกดูเเลข้าราชการฝ่ายพลเรือนทั้งในราช สมุหกลาโหมมีอัครมหาเสนาบดีตำเเหน่ง

สมุหกลาโหมเป็นผู้ดูเเลฝ่ายทหาร ทั้งในราชธานีเเละหัวเมือง เเละยังได้ปรับปรุงจตุสดมภ์ภายใต้การดูเเลของ สมุหนายก อัครมหาเสนาบดีผู้ดูเเลปรับเปลี่ยนชื่อเป็น ออกญาโกษาธิบดี


การปฏิรูปส่วนหัวเมือง เเยกเป็น ๓ ส่วน


หัวเมืองชั้นใน ยกเลิกหัวเมืองลูกหลวงจัดตั้งเป็นเมืองชั้นใน ทรงขุนนางไปครองเรียก ผู้รั้ง


หัวเมืองชั้นนอก คือหัวเมืองประเทศราชเดิม ถูกผนวกเป้นส่นหนึ่งของอยุธยาเรียกว่า เมืองพระยามหานคร จัดการปกครองใกล้ชิด เช่น พิษณุโลก นครศรัธรรมราช เป็นเมืองชั้นเอก โท เเละตรี


เมืองประเทศราช คือเมืองชาวต่างชาติที่ยอมอยู่ใต้อำนาจ เช่น ตะนาวศรี ทะวาย เขมร ให้เจ้านายพื้นเมืองเดิมปกครอง ส่งบรรณาการเเละกองทัพมาช่วยเวลาเกิดสงคราม


ช่วงที่ 2 ตรงกับสมัยพระเพทราชา ถ่วงดุลอำนาจทางทหารโดยให้สมุหกลาโหม เเละสมุหนายก ดูเเลทั้งทหารเเละพลเรือน โดยเเบ่งหัวเมืองใต้ให้สมุหกลาโหมดูเเลหัวเมืองทางใต้เเละพลเรือน ส่วนพลเรือนเเละทหารฝ่ายเหนือ ให้ สมุหกลาโหมดูเเล


การปกครองสมัยอยุธยาตอนปลาย ( ๒๒๓๑ - ๒๓๑0)


พอถึงสมัยสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวบรมโกศ ครองราชย์ ทรงปรับเปลี่ยนอำนาจทางทหาร เพื่อถ่วงดุลมากขึ้น โดยให้พระโกษาธิบดีหรือพระคลัง ดูเเลทหารเเละพลเรือนทางใต้เเทนสมุหกลาโหม ส่วนสมุหนายก ยังคงเหมือนเดิม การปรับปรุงเปลี่ยนเเปลงการปกครองสมัยอยุยาตั้งเเต่ตอนต้นจนถึงตอนปลายนั้น กระทำเพื่อการรวมอำนาจสู่ศูนย์กลางให้มากที่สุด เพื่อถ่วงอำนาจ ระหว่างเจ้านาย เเละขุนนาง ไม่ให้เป็นภัยต่อพระมหากษัตริย์นั้นเอง


สรุป

การปกครองสมัยอยุธยามีการปรับปรุงให้เหมาะสมกับสถานการณ์ทางการเมืองโดยมีจุดมุ่งหมายที่สำคัญคือพยายามรวามอำนาจการปกครองสู่ส่วนกลางเเละควบคุมการปกครองหัวเมืองต่างๆใหเมีประสิทธิภาพเพิ่มขึ้นพร้อมกับพยายามจัดรูปเเบบการปกครองเพื่อถ่วงดุลอำนาจกับกลุ่มเจ้านายเเละขุนนาง ซึ่งเป็นกลไกลสำคัญในการปกครอง ดั้งนั้น สมัยอาราจักรอยุธยาจึงเกิดการเเย่งชิงอำนาจทางการเมืองระหว่างพระมหากษัตริย์ เจ้านายเเละขุนาง ตลอดจนสิ้นอยุธยา




แบบทดสอบออนไลน์
http://quickr.me/66t7Ylu